บ้านไทยสไตล์นอร์ดิก
บ้านไทยสไตล์นอร์ดิก เทรนด์การดีไซน์หรือตกแต่งบ้าน อาจจะวนกลับมาหรือขยายส่งต่อกันไปได้ และเมื่อรับมาบางครั้งก็ไม่ได้เอาแนวคิดมาใช้ทั้งหมด แต่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนมุมมอง วัสดุ หรือฟังก์ชันบางอย่างให้เข้ากันได้กับสภาพอากาศท้องถิ่น ความต้องการของเจ้าของบ้าน รวมไปจนถึงข้อจำกัดต่าง ๆ อย่างบ้านสไตล์นอร์ดิกที่กำลังนิยมในบ้านเรา
หากไปดูถึงแหล่งที่มาหน้าตาบ้านและวัสดุก็คงไม่เหมือนกัน เมื่อมาสร้างในเขตร้อนดีไซน์ก็จะมีบางอย่างที่เป็นลักษณะเฉพาะขึ้นมา สำหรับเนื้อหานี้เราจะพาไปชมแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกประยุกต์ที่เรียบคม สะดุดตา แต่งด้วยวัสดุลายไม้และใส่การเล่นระดับให้บ้านใช้งานได้ถูกใจมากขึ้นบ้านพักพูลวิลล่า เขาใหญ่
บ้านสไตล์นอร์ดิก คืออะไร
สไตล์นอร์ดิก หรือจะเรียกอีกชื่อนึงว่าสไตล์สแกนดิเนเวีย เป็นแบบบ้านที่อยู่ในแถบ สวีเดน ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ เดนมาร์ก และเกาะกรีนแลนด์ และจะเรียกรวมเหล่าประชากรในแถบนี้ว่าชาวนอร์ดิก เลยเป็นที่มาของชื่อสไตล์นอร์ดิกนั่นเอง ด้วยความที่การใช้ชีวิต แนวคิด วัฒนธรรม รวมถึงลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นทิวเขา เทือกเขา อยู่กับอากาศที่หนาวและมีหิมะ นึกภาพตามก็รู้สึกได้ถึงความโรแมนติก โลเคชันสวย ๆ แบบในภาพยนตร์ที่เราเห็นกันเลยบ้านคอทเทจหลังเล็ก
ดังนั้นแรงบันดาลใจจากการที่ได้ใช้ชีวิตอิงกับธรรมชาตินี้ก็ถูกถ่ายทอดออกมากับการออกแบบสถาปัตยกรรม บ้านทรงนอร์ดิก ที่อิงรูปแบบหลังคาทรงจั่วสูงจากโรงนาหรือยุ้งฉางของเกษตรกรในแถบนั้น ทำให้หิมะไม่ตกค้าง ไม่มีชายคา ทำให้บ้านดูโปร่งโล่ง ภายในเน้นการตกแต่งด้วยหน้าต่างกระจกบานใหญ่เพื่อเปิดพื้นที่ให้แสงสว่างส่องเข้ามาเพื่อสร้างความอบอุ่นในบ้าน เน้นโทนสีธรรมชาติ ปูนเปลือย และไม้ เป็นต้น
และในปัจจุบันในประเทศไทยก็ได้มีการนำ แบบบ้านนอร์ดิก มาใช้ปรับให้เข้ากับสภาพอากาศของบ้านเรา ที่ได้ผสมทั้งสไตล์นอร์ดิก โมเดิร์น มินิมอล เข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว จะว่าไปก็ชักจะเริ่มหลงรัก บ้านทรงนอร์ดิก นี้แล้วนะ
บ้านสไตล์นอร์ดิกแบบไทย ๆ
บ้านสองชั้นที่เห็นหลังนี้เป็นงานรีโนเวทบ้านเก่าพื้นที่ 43 ตารางวา พิกัดสายไหม 13 ตัวบ้านมองจากภายนอกแบ่งเป็น 2 อาคารมีส่วนต่อเชื่อมตรงกลาง ความน่าสนใจอยู่ที่ชั้นบนของแต่ละส่วนหน้าตาไม่เหมือนกัน ด้านหนึ่งหลังคาจั่วไร้ชายคาสไตล์นอร์ดิกหรือ modern barn ส่วนอีกด้านทำหลังคาเพิงหมาแหงนเฉียงสูงลุคโมเดิร์น เพิ่มความรู้สึกอบอุ่นด้วยวัสดุลายไม้ตัดกับเส้นสายคมๆ ของเหล็กตกแต่งสีดำ
มุมมองจากด้านหน้าบ้าน จะมีหลังคากันสาดยื่นออกมาข้างหน้าปกป้องบ้านจากแดด ฝน และใช้เป็นโรงรถที่จอดได้ 2 คันสบาย ๆ จากประตูรั้วหน้าบ้านแบ่งพื้นที่โล่งๆ ปูบล็อกตัวหนอนเอาไว้ให้พื้นเรียบร้อยไม่เลอะเทอะ สามารถจัดตกแต่งเป็นมุมนั่งเล่นได้ในอนาคต หรือพื้นที่สีเขียวให้สัมผัสธรรมชาติสร้างร่มเงาก่อนเข้าถึงตัวบ้าน ผนังบ้านส่วนหน้าบางส่วนก่อด้วยบล็อกช่องลม เปิดช่องว่างรับแสงแดด ลม และสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัวให้ชั้นล่างโดยที่ยังสังเกตเห็นความเคลื่อนไหวภายนอกได้สบายๆ
ในบ้านนี้ไม่ได้มีเพียงแนวคิดการดีไซน์บ้านสไตล์นอร์ดิกรีโนเวทบ้านที่เน้นเปิดช่องแสง เพื่อให้สามารถนำแสงสว่างจากธรรมชาติเข้ามาสู่อาคาร เส้นสายอาคารที่เรียบง่าย โทนสีกลางๆ เน้นสีเทา สีไม้เลียนแบบธรรมชาติเท่านั้น ยังใส่บล็อกช่องลมแบบพื้นถิ่นเขตร้อนชื้น และฝ้าเพดานที่เปลือยโชว์แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปกลิ่นอายแบบลอฟท์ ที่เข้ากันได้เป็นอย่างดี
ลักษณะสถาปัตยกรรม Nordic หรือ Modern Barn เป็นบ้านเขตหนาวที่ได้รับอิทธิพลจากโรงนาแบบไม่มีกันสาด ดังนั้นการยกรูปแบบของนอร์ดิกมาใช้เลย โดยไม่ปรับประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของเมืองไทย จะส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้
ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่รับแสงจากกระจกบริเวณกว้าง หรือฝนที่อาจจะสาดโดนผนังทำให้เกิดความชื้นสะสมเป็นราได้ง่าย เจ้าของบ้านจึงควรทำรางน้ำฝนหรือหลังคาซ่อนรางน้ำฝน การทำผนังให้เว้าลึกเข้าไปจากชายคาเล็กน้อยก็จะพอช่วยได้ การเลือกวัสดุผนังที่กันชื้น สีทาภายนอกที่มีคุณสมบัติกันน้ำทนชื้นมากกว่าผนังปกติ ควรเลือกทิศทางห้องแต่ละห้องให้เหมาะกับทิศทางแสงแดด เป็นต้น
ข้อดีและลักษณะเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก (Nordic house Style)
การออกแบบตัวอาคารลักษณะเป็นทรงเรขาคณิตที่ดูเรียบง่าย สบายตา ไม่มีรายละเอียดที่ซับซ้อนหรือเกินความจำเป็น เส้นสายที่สะอาด เป็นเส้นนำสายตาดึงดูดความสนใจ หลังคาทรงจั่วสูง ภายในโปร่งโล่ง สบาย การออกแบบที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย และโดดเด่นด้วยความสวยงาม เน้นช่องแสงจากกระจกในการรับแสงจากธรรมชาติ
การยกจั่วสูงที่ทำให้หลังคาลาดชัน ซึ่งความลาดเอียงในระดับที่มากกว่าปกติจะช่วยให้น้ำฝนไหลลงด้านล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดน้ำขังบริเวณหลังคาจนเกิดการรั่วซึมได้ง่าย นอกจากนี้โครงหลังคาที่สูงยังช่วยให้ภายในตัวบ้านโปร่งโล่ง อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงได้ดี หากเสริมช่องระบายอากาศเพิ่มจะเอื้อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ภายในบ้านอยู่เย็นสบายตลอดเวลา
เน้นความเป็นธรรมชาติ “บรรยากาศ” ของความเรียบง่าย สงบ อบอุ่นและผ่อนคลายแก่ผู้อยู่อาศัย มักตกแต่งด้วยโทนสีของธรรมชาติ อาทิ การเลือกใช้โทนสีขาวเป็นสีพื้น, สีเอิร์ธโทนอย่างสีน้ำตาลของไม้ เป็นต้น การเลือกวัสดุตกแต่งผนังที่คุมโทน โดยปูแผ่นไม้ส่วนหนึ่ง หรืออีกด้านหนึ่งปูด้วยแผ่นหิน ซึ่งวัสดุทั้งสองรูปแบบได้แรงบันดาลใจจากวัสดุตกแต่งบ้านตามสไตล์นอร์ดิก สะท้อนถึงอารมณ์อันสุขุม สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและรักในธรรมชาติที่เป็นคุณลักษณ์เด่น ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น
ข้อควรรู้
1. ด้วยความที่ บ้านนอร์ดิก เป็นบ้านที่ออกแบบมาให้แสงสามารถส่องเข้าบ้านได้มากกว่าบ้านสไตล์อื่น ซึ่งอาจจะไม่เข้ากับประเทศที่มีอากาศร้อนมากนัก ถ้าหากอยากทำ บ้านนอร์ดิก ในประเทศที่มีอากาศร้อนก็ต้องใช้วิธีปรับเปลี่ยนการออกแบบและปรับเปลี่ยนวัสดุที่บังแสงแดด ทนลม ทนฝนได้แทนที่กระจก
2. บ้านทรงนอร์ดิกมีสเปซจากพื้นถึงเพดานที่สูง อาจทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น และต้องติดไฟที่ให้แสงสว่างในบ้านเพียงพอทั่วถึง
3. สำหรับการทำ บ้านนอร์ดิกชั้นเดียว หรือสองชั้นในประเทศไทยเรา ขอแนะนำให้ปรับการออกแบบให้มีชายคาแบบสั้น เพื่อช่วยในเรื่องน้ำฝนที่อาจจะรั่วซึมเข้ามาบริเวณรอยต่อของหลังคากับผนัง
4. แบบบ้านนอร์ดิก เป็นบ้านทรงสูง อาจจะต้องใช้หน้าต่างหรือประตูบานใหญ่ รวมถึงการติดตั้งผ้าม่านต่าง ๆ อย่าลืมเผื่องบประมาณในส่วนนี้ไว้ด้วย
5. ถึงจะเป็น บ้านนอร์ดิกชั้นเดียว หรือแม้แต่สองชั้นก็ตาม ด้วยความที่เป็นสไตล์บ้านที่แปลกใหม่กว่าบ้านสไตล์อื่น ๆ ในประเทศไทย ทั้งการออกแบบและการก่อสร้าง ควรจะปรึกษาหรือจ้างผู้ที่มีความรู้ในเรื่องแบบมาช่วยดูแล อาจจะดูยิ่งใหญ่หรือยุ่งยาก แต่จริง ๆ แล้วก็เพื่อที่จะทำให้เราได้ บ้านนอร์ดิก ที่สวยถูกใจ สะดวกสบาย อยู่แล้วไร้ปัญหาในระยะยาว