แบบโรงจอดรถ
แบบโรงจอดรถ ถ้าใครกำลังคิดว่า โรงจอดรถในบ้าน ก็แค่เป็นที่ให้คุณจอดรถเอาไว้เฉยๆ ไม่ต้องโฟกัสเรื่องความสวยงามอะไรมากหรอก แต่จริง ๆ แล้ว การที่เรามีโรงจอดรถสวยๆในบ้านถือเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งบ้านให้ดูดี มีสไตล์ได้นะ แล้วโรงจอดรถที่ดี ควรเป็นอย่างไร บทความนี้เราจะมาพูดถึงความสำคัญของโรงจอดรถ แบบหลังคาโรงรถ ต้องมีอะไรบ้าง
โรงจอดรถในบ้าน สำคัญอย่างไร
การที่เรามีโรงจอดรถในบ้าน จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยของรถ รวมถึงทำให้เราได้ใช้พื้นที่ในบ้านได้อย่างคุ้มค่า มาดูกันว่าโรงจอดรถในบ้านที่มีการบริหารจัดการที่ดีจะมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
เพิ่มความปลอดภัยให้กับรถคันโปรดของคุณ
แน่นอนว่าการมีโรงจอดรถในบ้าน ช่วยลดเรื่องการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงช่วยป้องกันการเกิดการขโมย การทำลายได้อีกด้วย อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงหากคุณนำรถไปจอดในที่สาธารณะ รีสอร์ทในเกาะพีพี
ไม่ต้องเสียเวลาหาที่จอดรถ
รถใครใครก็รัก จะเอาไปจอดหน้าบ้านมันก็ดูจะเสี่ยงเกินไป ทั้งในแง่ของการถูกขโมย หรืออาจจะไปล้ำพื้นที่บ้านข้าง ๆ การมีโรงจอดรถในบ้าน จะทำให้คุณไม่ต้องเสียเวลาหาที่จอดรถในที่อื่น
เพิ่มความคุ้มค่า ด้วยพื้นที่ใช้สอย
การมีโรงจอดรถในบ้าน จะช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้เราสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมได้ เช่น การปลูกต้นไม้ การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แสงอาทิตย์ หรือการทำเป็นห้องเก็บของ
ไอเดีย แบบหลังคาโรงรถสวยๆ ที่เหมาะกับโรงจอดรถของคุณ
อย่างที่กล่าวไปว่าหลังคาโรงรถในบ้าน ถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ช่วยเซฟความปลอดภัยให้กับรถของคุณ การที่เรามีโรงจอดรถสวยๆได้ องค์ประกอบอย่าง หลังคาที่จอดรถ ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม วันนี้เราจะแนะนำแบบหลังคาโรงรถสวยๆ ที่เหมาะกับโรงจอดรถของคุณ มาดูกันว่ามีแบบหลังคาโรงรถ อะไรบ้าง 5 ที่พักริมน้ำนครนายก 2567
แบบหลังคาโรงรถแบบโค้ง
เป็นแบบหลังคาโรงรถที่มีลักษณะโค้ง ใช้ได้กับโรงจอดรถที่มีขนาดใหญ่หรือเล็ก สามารถป้องกันแสงแดด ฝน หิมะ และลมได้ดี แบบหลังคาโรงรถแบบโค้งยังช่วยให้โรงจอดรถมีการไหลเวียนอากาศได้ดี และมีความสวยงามและทันสมัย
แบบหลังคาโรงรถแบบผ้าใบ
ข้อดีของหลังคาโรงรถที่ใช้ผ้าใบเป็นวัสดุหลักก็คือมีความยืดหยุ่น ติดตั้งง่าย ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งยังช่วยป้องกัน UV ได้อีกด้วย
แบบหลังคาโรงรถแบบแผ่นโลหะ
แบบหลังคาโรงรถประเภทนี้จะใช้ สแตนเลส อลูมิเนียม เป็นวัสดุหลัก เพื่อให้ได้การปกคลุมที่แข็งแรง ทนทาน และไม่เป็นสนิม แบบหลังคาโรงรถแบบแผ่นโลหะเหมาะกับโรงจอดรถที่ต้องการความคงทน และไม่ต้องการการดูแลรักษามาก แผ่นโลหะที่ใช้สำหรับหลังคาโรงรถจะมีการป้องกัน UV และ มีความทนทาน คลิกที่นี่ : assetdata.live
หลังคาโรงรถแบบ Knockdown
เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับบ้านของคุณ ซึ่งโครงสร้างหลังคาระบบ Knockdown ข้อดีคือช่วยร่นระยะเวลาการติดตั้ง อีกทั้งยังมี Flexible Joint System เป็นดีไซน์ที่ช่วยให้โครงสร้างรองรับการทรุดตัวของบ้านป้องกันปัญหาในอนาคต ตกแต่งด้วยระบบสีพ่นทราย Double Black ให้สัมผัสที่สวยงามและมีคุณภาพ
และนี่ก็คือเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ หลังคาที่จอดรถ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากมีโรงจอดรถสวยๆในบ้าน นี่คือไอเดียโรงจอดรถสวยๆในบ้านที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้ ตั้งแต่การเลือกวัสดุ การใช้สี การจัดวาง และการเพิ่มฟังก์ชันเพิ่มเติมที่เหมาะกับความต้องการของคุณ รวมถึงโครงสร้างของบ้านและหากใครกำลังมองหาหลังคาดีไซน์สวย ช่วยทำให้บ้านเย็น ขอแนะนำ ROOVTECT เราคือผู้ผลิตและออกแบบหลังคากันสาด หลังคาโรงจอดรถ
โรงจอดรถที่สร้างอย่างถูกหลัก ต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ต้องออกแบบให้มีแสงสว่างจากธรรมชาติเข้ามาได้อย่างพอเหมาะ เพื่อให้มองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างชัดเจน และต้องติดหลอดไฟให้เหมาะสมด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการมองเห็นในเวลากลางคืน ทั้งยังควรใช้วัสดุที่ที่ไม่มันไม่ลื่น เพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุ โดยเฉพาะหากขับรถเข้ามาในวันที่ฝนตก ล้อรถที่เปียกน้ำหากต้องวิ่งบนพื้นผิวที่ลื่น อาจเกิดอุบัติเหตุเสียหลักได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างยิ่ง นอกจากนั้น ควรติดตั้งปลั๊กไฟในโรงจอดรถด้วย เมื่อต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในการบำรุงซ่อมแซม จะได้สามารถเสียบปลั๊กไฟได้
โรงจอดรถที่ดี ต้องแยกจากตัวบ้าน
สำหรับบ้านใครที่มีพื้นที่มาก สามารถสร้างโรงจอดรถแยกออกมาจากตัวบ้านได้ นับว่าเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากในทาง ฮวงจุ้ยถือว่ารถยนต์สามารถนำพาพลังงานที่เลวมาสู่บ้านเรือนได้ แต่หากพิจารณาในประเด็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ จะเข้าใจได้ว่า สิ่งที่มาพร้อมกับรถยนต์คือก๊าซพิษต่างๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ หากโรงรถอยู่ห่างจากตัวบ้าน ย่อมทำให้คนในบ้านไม่ต้องได้กลิ่นควันรถหรือรับก๊าซพิษเข้าสู่ร่างกาย
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนจะทำโรงจอดรถ
เจ้าของบ้านต้องรู้จำนวนและขนาดของรถที่จะจอดเสียก่อน สำหรับบ้านที่มีรถ 1-2 คัน มักจะไม่เป็นปัญหา แต่ถ้ามีมากกว่านั้น ก็อาจต้องสร้างโรงจอดรถให้มีเสากลาง เพื่อรับน้ำหนักหลังคาที่ยาวขึ้น ส่วนโรงจอดรถควรมีขนาดอย่างน้อย 2.5 x 5.0 เมตรต่อคัน แต่ในกรณีที่ใช้รถกระบะหรือรถตู้ขนาดใหญ่ ก็ควรเพิ่มขนาดเป็น 3.0 x 6.0 เมตรต่อคัน ส่วนความแข็งแรงของพื้นที่ที่ใช้สร้างโรงจอดรถก็เป็นเรื่องสำคัญ หากพื้นดินมีโอกาสทรุดตัว ก็ควรต้องตั้งเสาเข็มก่อนก่อสร้าง หากพื้นที่เทปูนอยู่แล้ว ก็อาจตั้งเสาเหล็กอย่างเดียวก็ได้ รวมถึงต้องมีการเดินปลั๊กไฟและก๊อกน้ำ
เพื่อความสะดวกในการล้างรถ นอกจากนี้ เจ้าของบ้านควรศึกษาข้อกฎหมายในการต่อเติม ก่อนออกแบบและจ้างผู้รับเหมาด้วย
เลือกรูปแบบโรงจอดรถ
1.โรงจอดรถแบบหลังคากันสาด
2.โรงจอดรถแบบตั้งเสาใหม่ทั้งหมด
3.โรงจอดรถแบบยึดกับโครงสร้างบ้าน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โรงจอดรถหน้าบ้านเป็นส่วนสำคัญที่มีผลกับความสวยงามของบ้าน นั่นเป็นเพราะโรงจอดรถยนต์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมออกแบบไว้ให้อยู่บริเวณหน้าบ้าน การออกแบบโรงจอดรถให้สวยงามจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้เลย
สำหรับบ้านที่สถาปนิกออกแบบโรงจอดรถยนต์ไว้ให้ตั้งแต่ต้นแล้วมักไม่มีปัญหาใดครับ แต่สำหรับบ้านที่ต้อง ต่อเติมโรงรถภายหลัง เจ้าของบ้านจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ ทั้งงานโครงสร้าง ขนาดสัดส่วนและความสวยงาม เนื้อหานี้จะบอกเล่าถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ควรทราบ เพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถประยุกต์งานต่อเติมโรงรถยนต์ได้อย่างเหมาะสมลงตัวครับ
1.คำนวณพื้นที่โรงจอดรถ ให้พอดีกับจำนวนรถ
ตามกฎหมายระบุขนาดพื้นที่โรงจอดรถหน้าบ้านที่เหมาะสมสำหรับ 1 คัน ต้องมีขนาด กว้าง x ยาว ไม่น้อยกว่า 2.4 x 5 เมตร (วัดระยะห่างระหว่างเสา) และต้องเผื่อพื้นที่ว่างด้านข้างอีกข้างละ 0.70 ม. ซึ่งหากเป็นรถ ECO car ขนาดเล็กทั่วไปที่กว้าง 1.6-1.7 เมตร สามารถจอดได้ง่ายแบบมีพื้นที่เหลือ แต่รถกระบะ หรือรถ SUV ที่มีความกว้างประมาณ 1.8 เมตร และมิติยาว 4.5 เมตรขึ้นไป ขนาดมาตรฐานที่ระบุไว้จะค่อนข้างคับแคบใช้งานไม่สะดวก
ขนาดโรงจอดรถที่ดี ที่รองรับการใช้งานรถยนต์ได้ครอบคลุมทุกรุ่นและใช้งานได้สบาย ๆ จึงควรมีขนาด ประมาณ 2.5 x 5.5 เมตร สำหรับจอดรถ 1 คัน และพื้นที่ 5.5 x 5.5 เมตร เป็นอย่างน้อย สำหรับบ้านที่มีรถ 2 คัน หรืออาจจะเพิ่มพื้นที่มากกว่านี้ได้ตามความเหมาะสมของขนาดที่ดินและงบประมาณ ส่วนระดับเพดานขั้นต่ำจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 เมตร
2.โครงสร้างบ้านแยกกับโรงจอดรถปลอดภัยกว่า
การต่อเติมโรงรถนิยมทำโครงสร้าง 3 รูปแบบด้วยกัน
แบบที่ 1 เป็นการต่อเติมโรงรถหน้าบ้านโดยไม่ตั้งเสา โดยจะใช้วิธีการค้ำยันหรือลวดสลิงยึดติดกับผนังบ้าน แต่จะมีข้อจำกัดเรื่องระยะยื่นที่สามารถยื่นได้น้อยประมาณ 1-2 เมตร หรือหากระยะมากกว่านี้ควรปรึกษาวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ การต่อเติมลักษณะนี้จะเหมาะกับงานโครงสร้างเหล็ก และเลือกวัสดุหลังคาที่มีน้ำหนักเบาเพื่อลดภาระการรับน้ำหนัก
แบบที่ 2 ใช้วิธีฝากโครงสร้างโรงจอดรถหน้าบ้านไว้กับโครงสร้างบ้าน โดยออกแบบให้ผนังบางส่วนของบ้านช่วยรับน้ำหนักโครงสร้างหลังคาโรงจอดรถ และตั้งเสารับน้ำหนักด้านหน้า วิธีนี้เหมาะกับบ้านที่มีที่ดินน้อยและต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และหลังคาโรงจอดรถที่มีระยะไม่เกิน 3 เมตร แต่ข้อควรระวังคือการทรุดตัวของโครงสร้าง เพราะเมื่อบ้านและโรงจอดรถตั้งอยู่บนโครงสร้างคนละชนิด ใช้ขนาดเสาเข็มที่แตกต่างกัน ในระยะยาวเมื่อพื้นดินเริ่มทรุดตัวตามธรรมชาติโดยเฉพาะพื้นที่โซนภาคกลางที่มีดินอ่อนตัวมาก อัตราการทรุดตัวในอนาคตค่อนข้างสูง ซึ่งแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และสำรวจหน้างานก่อนการก่อสร้าง
รถยนต์เล็ก 1 คันจะมีน้ำหนักประมาณ 1 ตันหรือ 1,000 กิโลกรัม ในรุ่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้นก็อาจมีน้ำหนักถึง 2,000 กว่ากิโลกรัม ด้วยน้ำหนักของรถยนต์ที่ไม่น้อย ก่อนต่อเติมพื้นโรงจอดรถจะต้องสำรวจตรวจสอบพื้นโครงสร้างว่าสามารถรองรับน้ำหนักการก่อสร้างต่อเติมและน้ำหนักรถที่จอดในโรงรถหน้าบ้านได้หรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้พื้นดินทรุด
การเตรียมโครงสร้างพื้นที่จอดรถ ควรบดอัดพื้นดินเดิมให้แน่นและสม่ำเสมอทั่วกัน ในส่วนโครงสร้างต้องมีฐานรองรับที่แข็งแรง โดยปกติบ้านที่ไม่มีปัญหาดินอ่อนหรือทรุดมาก มักเลือกเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อกระจายน้ำหนักลงบนดิน โดยไม่ต้องใช้ฐานรากและเสาเข็ม แต่ถ้าต้องการความมั่นใจในการรับน้ำหนักมากขึ้น ให้ทำพื้นแบบ Slab on Ground ที่มีโครงสร้างใต้ดินหรือเสาเข็มแบบปูพรม หรือฐานเข็มกลุ่มรองรับด้านล่างในลักษณะเดียวกับโครงสร้างบ้าน เพราะเสาเข็มจะทำหน้าที่ช่วยถ่ายโอนน้ำหนักลงไปในชั้นดินที่มีความแข็ง เสาเข็มที่มีประสิทธิภาพจึงควรมีความยาวลึกถึงชั้นดินแข็ง เพื่อรองรับน้ำหนักของตัวบ้านและชะลอการทรุดตัวในระยะยาว