บ้านสไตล์สแกนดิเนเวียน
บ้านสไตล์สแกนดิเนเวียน บ้านสไตล์นอร์ดิก แสงสวย ชวนให้ถ่ายรูปทุกวัน บางครั้งการมีความรู้สิ่งเล็ก ๆ น้อยๆ แต่สำคัญ อาจส่งผลดีให้ได้บ้านถูกใจกว่าที่คิด เช่น เป็นคนที่เชี่ยวชาญด้านก่อสร้าง ประปา ฮวงจุ้ย หรือแม้กระทั่งการถ่ายภาพ เห็นได้จากบ้านน้อยหลังนี้ที่เจ้าของบ้านเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการถ่ายภาพ ก็จะทราบดีว่าทิศทางการเปลี่ยนแปลงของแสงตลอดทั้งวันเป็นอย่างไร ซึ่งก็มีความสำคัญเช่นกันในระหว่างการออกแบบภายใน เพราะทำให้แน่ใจว่าบ้านจะมีมุมมองของแสงที่สวยงามระหว่างวันอยู่ในช่วงเวลาใด บริเวณไหน ควรหลีกเลี่ยงแสงโซนไหน บ้านจึงเต็มไปด้วยชีวิตชีวา มองไปทางไหนก็อยากเก็บบันทึกความทรงจำเอาไว้
นอร์ดิกเป็นสไตล์บ้านแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่มนอร์ดิก ได้แก่ สวีเดน, ฟินแลนด์, ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์ เดนมาร์ก และเกาะกรีนแลนด์ บ้านแนวนอร์ดิกจะมีเอกลักษณ์ในเรื่องของความอบอุ่น เรียบง่าย เน้นความโปร่งโล่ง และมีจุดเด่นก็คือรูปทรงจั่วคล้ายกับโรงนาในยุโรป เน้นความเป็นธรรมชาติของสีและวัสดุอุปกรณ์ รวมไปถึงประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม การออกแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกจึงมักมีด้านที่เป็นกระจกช่วยเพิ่มแสงสว่างและความอบอุ่น ปัจจุบันบ้านสไตล์นอร์ดิกได้มีการประยุกต์และผสมผสาน กับ ทั้งสไตล์มินิมอล สไตล์โมเดิร์น สไตล์ลอฟต์ปูนเปลือย หรือจะไปแนวสไตล์หรูหราก็เป็นที่นิยมอย่างมาก
บ้านสไตล์นอร์ดิก แสงสวย
บ้านสไตล์นอร์ดิก (Nordic House Style)เป็นรูปแบบบ้านที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมของยุโรปตอนเหนือ ถือเป็นอีกหนึ่งสไตล์บ้านที่กำลังเป็นที่พูดถึงมาก อยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะใครที่ หลงใหล ตกหลุมรัก บ้านดีไซน์สวย เรียบง่าย และชวนผ่อนคลาย รวมถึงการออกแบบที่เหมาะสมกับผู้อยู่อาศัย Nordic House Style คือสไตล์บ้านในฝันที่หลายๆคนหลงใหลและกำลังมองหาอยู่แน่นอน
“เราชอบบ้านที่สะอาดและค่อนข้างเรียบง่าย” เจ้าของบ้าน Stella House กล่าวถึงที่มาของการออกแบบบ้านเส้นสายเรียบคมทันสมัยสไตล์สแกนดิเนเวีย ซึ่งมีพื้นทำจากไม้เนื้อแข็งสีธรรมชาติ หลังคาไร้ชายคาทำจากเมทัลชีท seamless สีดำตัดกับตัวให้ความรู้สึกน่ารัก ผ่อนคลาย และสงบเงียบน ทำให้รู้สึกถึงบรรยากาศมีชีวิตชีวาของช่วงปิดภาคเรียน แม้ว่าบ้านอาจจะดูเล็กก็ตาม แต่พื้นที่ใช้สอยทั้งหมดรวม ๆ ก็เพียงพอกับการใช้งาน เพราะรวม ๆ แล้วประมาณ 139 ตารางเมตรทีเดียว
โครงสร้างที่ออกแบบให้ตรงตามมาตรฐานด้านพลังงานที่เข้มงวด โดยมีผนังที่หนาและหุ้มฉนวนป้องกันบ้านจากความร้อนและความหนาว หน้าต่างกระจกรับแสงธรรมชาติและความอบอุ่นหลังคาทรงจั่วสูงไม่มีชายคาใช้วัสดุเมทัลชีท seamless สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศที่ฤดูหนาวมีหิมะตก Ronfini และ Bensimon เจ้าของบ้านตัดสินใจหุ้มผนังภายนอกของบ้านและสร้างเฉลียงด้วยไม้ซีดาร์ในท้องถิ่น ซึ่งจะค่อยๆ กลายเป็นสีเทาเมื่อเวลาผ่านไป พื้นเป็นแผ่นไม้สนกว้างจากโรงไม้ในท้องถิ่น วัสดุทั้งหมดภายในบ้านปราศจากฟอร์มาลดีไฮด์ สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) และส่วนประกอบที่เป็นพิษอื่นๆ
ภายในบ้านขนาดกะทัดรัด มีพื้นที่ใช้สอยแบบเปิดโล่งสูงสองชั้น พร้อมฟังก์ชันห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว ครัว ห้องนอนแขก ห้องนอนหลัก ห้องน้ำ และเฉลียงนั่งเล่น สำหรับบ้านนี้ แสงธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญ จึงต้องการหน้าต่างบานใหญ่ เพดานสูง และมีช่แงแสงในมุมสูงเพื่อให้แสงส่องเข้ามาในพื้นที่นี้มากขึ้น แต่กลับประสบปัญหากับรูปทรงของช่องเปิดเหนือประตู ซึ่งนักออกแบบนำเสนอวงกลมที่เจ้าของไม่ชอบ ดังนั้นรูปแบบแรกที่ทำไว้จึงเป็นสามเหลี่ยม จนกระทั่งมาถึงดราฟท์สุดท้ายก็ตกลงใจใช้วงกลมที่ดูเข้ากันมากกว่า
วงกลมเหมือนเลนส์ที่มองเห็นการไหลของแสงและเงาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพิ่มความสนุกสนานในการมีส่วนร่วมกับภูมิทัศน์โดยรอบ เมื่อรวมกับผนังบ้านที่เปิดต้อนรับแสงธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบ ทำให้บ้านเหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์สุดๆห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่สูงสองเท่าหันหน้าไปทางทิศใต้ เชื่อมต่อกับครัวแบบเปิดและห้องนั่งเล่นด้านบน ผนังหน้าต่างกว้างตามความกว้างของโครงสร้างและเปิดมุมมองผ่านกระจกออกไปซึมซับวิวสู่ต้นไม้และอ่าวที่อยู่ไกลออกไป ด้านทิศใต้นี้จะให้ร่มเงาในฤดูร้อนในขณะที่แสงอาทิตย์จะสามารถไหลเข้ามาและทำให้บ้านอุ่นขึ้นในฤดูหนาว แต่ความอุ่นก็อาจจะยังไม่เพียงพอหากหนาวจัด ๆ จึงต้องมีเตาผิงเอาไว้เพิ่มความร้อนในบ้านให้อยู่สบายขึ้น
ทางทิศตะวันตก มีหน้าต่างบานใหญ่ยื่นออกมาจากขอบผนัง สถาปนิกออกแบบให้เป็นเบย์วินโดว์ตกแต่งเป็นมุมนั่งเล่นอ่านหนังสือที่แสนผ่อนคลาย ประกอบกับแสงและเงาสวยงามอบอุ่น นอกจากนี้ยังใช้ดูหนัง (ฉายภาพบนกำแพงฝั่งตรงข้าม) และดื่มด่ำกับทัศนียภาพของป่าไม้ ทำให้มุมเล็ก ๆ นี้เป็นมุมโปรดที่ชวนให้ประทับใจอย่างที่สุด
ครัวน้อย ๆ สำหรับการทำอาหารครัว ตกแต่งภายในโดยได้รับแรงบันดาลใจจากครัวของอังกฤษในยุค 70 โดยเฉพาะที่รวบรวมมาจากหนังสือ The House Book ของ Terence Conran ปี 1974 ซึ่งจะมีงานดีไซน์ที่น่าสนใจมากมาย จนตกผลึกออกมาเป็นครัวที่มีตู้ไม้รุ่นเบิร์ชสีแด Bench Dogsของ Washington ช่วยเสริมความเด่นสะดุดตาใน backsplash และท็อปไอส์แลนด์ด้วย Marmoreal terrazzo ซึ่งเป็นหินอ่อนจากอาตาลี โคมไฟแขวนทองเหลืองที่ดูคลาสสิคและย้อนยุคเล็ก ๆ คานไม้และเตาไม้ให้ความรู้สึกกระท่อมที่อบอวลด้วยความรัก
มุมกาแฟที่ต้องมีแบบขาดไม่ได้ ตกแต่งเอาไว้อย่างน่ารักจนอยากลงมาชงกาแฟคาปูชิโนดื่มทุกเช้า ซิดนีย์เจ้าของบ้านต้องการให้สถานที่นี้เป็นสถานที่แบ่งปัน เพื่อนๆ สามารถรวมตัวกันพูดคุย นั่งเล่น มีอาหารทำเองและเครื่องดื่มหอม ๆ เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ของมนุษย์ด้วยกัน แต่ละจุดเธอให้ความใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทุกรายละเอียดตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุภายใน วัสดุตกแต่ง และอุปกรณ์ตกแต่ง เพราะไม่เพียงแต่อยากจะให้บ้านดูดีในวันรุ่งขึ้นหลังการติดตั้งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอนาคตอันไกลด้วย
ห้องนอนฟูกหนา ๆ ชวนให้นอนซุกตัวอยู่ใต้ผ้าห่ม ณ ที่นี่ เจ้าของห้องสามารถมองดูดวงดาวผ่านช่องแสงสกายไลท์คู่หนึ่งซึ่งซ่อนอยู่ระหว่างคานบนหลังคายอดแหลมสูง และยังมีหน้าต่างไม้เล็ก ๆ บนผนังคอนกรีตเปลือยที่รับแสงอ่อน ๆ ยามเช้าและวิวสวยๆ ได้อีก เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ให้ชีวิตดี ๆ ในบ้านหลังเล็กอย่างน่าอิจฉา
บ้านสไตล์นอร์ดิกที่เด่นตรงหลังคาจั่วสูงแหลมแบบไร้ชายคา ประตูกระจกขนาดใหญ่เปิดให้บ้านรับแสงได้มาก วัสดุไม้ และการตกแต่งที่อ้างอิงธรรมชาติ ก็เป็นอีกหนึ่งหัวใจของบ้านที่แต่งตามแล้วจะไม่พลาด อย่างไรก็ตามบ้านที่เหมาะกับเขตหนาวอาจไม่เหมาะกับเขตร้อน โดยเฉพาะขนาดพื้นที่รับแสงและทิศทางการติดตั้งกระจก ซึ่งอาจทำให้บ้านเขตร้อนมีอุณหภูมิสูงจนอยู่ไม่สบาย จึงควรมองหากระจกที่มีคุณสมบัติตัดแสง และเลือกใส่ในพื้นที่กว้างๆ ในทิศที่แสงไม่รุนแรง เช่น ทิศเหนือและทิศตะวันออก เป็นต้น
ข้อดีและลักษณะเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก (Nordic house Style)
วัฒนธรรมนอร์ดิกเกิดจากการสั่งสมแนวความคิดการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามสภาพภูมิประเทศที่อบอวลไปด้วยธรรมชาติที่งดงาม ภูมิอากาศอันหนาวเย็นด้วยฤดูหนาวที่ยาวนาน สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลไปถึงแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมทั้งภายนอกและภายใน ปัจจุบันเริ่มมีผู้คนรู้จักคำว่าตกแต่งสไตล์สแกนดิเนเวียหรือสไตล์นอร์ดิก อันมีแนวคิดหลัก คือการออกแบบพื้นที่ใช้สอยอย่างรู้คุณค่า พื้นที่กะทัดรัดแต่สามารถใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ มีเอกลักษณ์ในการตกแต่งด้วยโทนสีขาว สีพาสเทล พื้นไม้สน พื้นปูนเปลือย เปิดช่องแสง ประดับต้นไม้สีเขียวเข้มภายในบ้าน
การออกแบบตัวอาคารลักษณะเป็นทรงเรขาคณิตที่ดูเรียบง่าย สบายตา ไม่มีรายละเอียดที่ซับซ้อนหรือเกินความจำเป็น เส้นสายที่สะอาด เป็นเส้นนำสายตาดึงดูดความสนใจ หลังคาทรงจั่วสูง ภายในโปร่งโล่ง สบาย การออกแบบที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย และโดดเด่นด้วยความสวยงาม เน้นช่องแสงจากกระจกในการรับแสงจากธรรมชาติ
การยกจั่วสูงที่ทำให้หลังคาลาดชัน ซึ่งความลาดเอียงในระดับที่มากกว่าปกติจะช่วยให้น้ำฝนไหลลงด้านล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดน้ำขังบริเวณหลังคาจนเกิดการรั่วซึมได้ง่าย นอกจากนี้โครงหลังคาที่สูงยังช่วยให้ภายในตัวบ้านโปร่งโล่ง อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงได้ดี หากเสริมช่องระบายอากาศเพิ่มจะเอื้อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ภายในบ้านอยู่เย็นสบายตลอดเวลา
เน้นความเป็นธรรมชาติ “บรรยากาศ” ของความเรียบง่าย สงบ อบอุ่นและผ่อนคลายแก่ผู้อยู่อาศัย มักตกแต่งด้วยโทนสีของธรรมชาติ อาทิ การเลือกใช้โทนสีขาวเป็นสีพื้น, สีเอิร์ธโทนอย่างสีน้ำตาลของไม้ เป็นต้น การเลือกวัสดุตกแต่งผนังที่คุมโทน โดยปูแผ่นไม้ส่วนหนึ่ง หรืออีกด้านหนึ่งปูด้วยแผ่นหิน ซึ่งวัสดุทั้งสองรูปแบบได้แรงบันดาลใจจากวัสดุตกแต่งบ้านตามสไตล์นอร์ดิก สะท้อนถึงอารมณ์อันสุขุม สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและรักในธรรมชาติที่เป็นคุณลักษณ์เด่น ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น
ปัจจุบันนี้ ‘สไตล์นอร์ดิก’ เริ่มเป็นเทรนด์การออกแบบใหม่ของวงการสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะวงการตกแต่งอาคารด้วยแผ่นทองแดง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหน้ากากอาคาร (Façade design) การปิดผิวอาคารด้วยแผ่นทองแดงแท้ระบบสำเร็จรูป (Prefabricated system) การออกแบบผนังแผ่นทองแดง การออกแบบหลังคาแผ่นทองแดง การตกแต่งภายใน หรือแม้กระทั่งการออกแบบเฟอร์นิเจอร์
‘สไตล์นอร์ดิก’ มีชื่อผลิตภัณฑ์แบ่งตามโทนสีทั้งหมด 4 โทนสี ได้แก่
- โทนสีทองแดง Nordic Standard
- โทนสีทอง-ทองเหลือง Nordic Royal, Nordic Brass
- โทนสีน้ำตาล Nordic Brown, Nordic Bronze
- โทนสีเขียว-ฟ้า Nordic Green, Nordic Blue
‘สไตล์นอร์ดิก’ กำลังเป็นที่น่าจับตามองในวงการออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียว (Green Architecture) เนื่องจาก ‘สไตล์นอร์ดิก’ ได้รับฉลากสิ่งแวดล้อมสากล (Environmental Product Declaration: EPD) more info