ออกแบบบ้านสามชั้น

ออกแบบบ้านสามชั้น

ออกแบบบ้านสามชั้น

ออกแบบบ้านสามชั้น บ้านสามชั้น เชื่อมต่อพื้นที่ทั้งแนวตั้งและแนวนอนความว่าง บางครั้งก็ดีเช่นกัน ลองนึกภาพว่างานศิลปะที่เต็มไปด้วยความเกี่ยวพัน ไม่เว้นช่องให้ได้พักสายตา บ้านที่มีแต่ห้องและห้อง ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่อัดแน่น มองไปทางไหนก็รู้สึกเหมือนอึดอัดหายใจไม่ออก ดังนั้น การใส่พื้นที่ว่างเข้าไปในงาน บ้าน และชีวิตบ้างก็จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้นนะครับ เหมือนตัวอย่างของบ้านหลังนี้ในประเทศอินเดียที่ผสมผสานกับธีมที่ทันสมัย ให้ประสบการณ์ใหม่ๆ การใช้พื้นที่ เพิ่มความต่อเนื่องและความกว้างใหญ่ในบ้านที่มีถึง 3 ชั้น แต่กลับไม่รู้สึกถึงความทึบ ขาดแสง ขาดลม หรือถูกตัดขาดระหว่างชั้น

Govardhan Villa เป็นบ้าน 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอยกว่า 353.4 ตารางเมตร ด้วยความจำกัดของขนาดที่ดินที่ไม่สมดุลกับจำนวนสมาชิกในบ้าน ทำให้ต้องเพิ่มพื้นที่ขึ้นไปในแนวตั้ง ปกติถ้าเป็นบ้านตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไปเราจะคุ้นเคยกับการเทพื้นเพดานปิดแยกเป็นชั้นๆ มีเพียงโถงบันไดเชื่อมต่อทางสัญจร แต่บ้านหลังนี้ได้รับการออกแบบมาให้มีประสบการณ์ของพื้นที่อยู่อาศัยที่ดูกว้างใหญ่ เปิดโล่ง เชื่อมต่อถึงกัน และมีพื้นที่ที่สีเขียวกระจายตัวอยู่  เป็นทำงานบนหลักการของความเรียบง่าย แต่วางแผนการใช้งานภายในให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต

การวางแปลนภายในดำเนินการโดยแบ่งแกนของบ้านแกนสองแกน คือ แกนตะวันออก-ตะวันตกจากทางเข้าหลักไป โดยมีบันไดทำหน้าที่เป็นจุดหมุนเวียนกลาง ในขณะที่แกนเหนือ-ใต้จะเปิดออกกว้างช่วยให้มองเห็นภาพภายในและนอกที่พัก เหนือห้องนั่งเล่นชั้นล่างสุดจะเจาะเป็นโถงสูงเชื่อมต่อพื้นที่แนวตั้งขึ้นมาบนชั้นสองที่เป็นชั้นลอย บันไดที่มีคอร์ทอยู่ติดกันช่วยอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อภายในกับธรรมชาติภายนอก ในขณะที่เป็นสื่อกลางในการเคลื่อนย้ายข้ามระดับของบ้าน คลิ๊กที่นี่

 แบบบ้าน สไตล์โมเดิร์น

การจัดตำแหน่งฟัง์ชันต่างๆ ในบ้าน จะเป็นการประยุกต์ใช้หลักการ Vaastu (ระบบการวางแผนทางสถาปัตยกรรมแบบฮินดู) โดยจัดให้ห้องครัว ห้องนั่งเล่น และห้องนอนใหญ่อยู่ในทิศทางตะวันออกเฉียงใต้, เหนือ และ ตะวันตกเฉียงใต้ ตามลำดับ ขณะที่ห้องอาหารวางอยู่ที่แกนกลางเป็นพื้นที่สูงสองเท่า อำนวยความสะดวกในการรับแสงตลอดจนการเชื่อมต่อภาพและเสียงจากต่างชั้น ความสูงสองเท่าในที่อยู่อาศัยแบบ Double Space ใจกลางบ้านช่วยเสริมการเชื่อมต่อของพื้นที่ด้วยอากาศ แสง และภูมิทัศน์

ช่องว่างที่เชื่อมต่อกันอย่างแนบเนียนทั้งภายใน และส่วนที่ยื่นออกไปนอกกำแพงและกลายเป็นหนึ่งเดียวกับภูมิทัศน์ที่สร้างขึ้นโดยรอบ ประสบการณ์ของความต่อเนื่องและความกว้างใหญ่  Skylights, ฉากระแนง และการเล่นกับมิติของแสง การเพิ่มช่องทางไหลเวียนของอากาศ วิธีการปฏิสัมพันธ์ของแต่ละพื้นที่ระหว่างชั้นเดียวกัน และชั้นบนกับชั้นล่าง ทำให้สถาปัตยกรรมนี้นำเสนอรูปแบบใหม่ๆ ที่สมาชิกในบ้านได้ทั้งความสนุกสนานและประโยชน์ในการใช้งานจริง

ความเรียบง่ายผสมผสานกับธีมที่ทันสมัย กลายเป็นแนวคิดของการออกแบบภายใน โดยนำการใช้สีวัสดุน้อยที่สุดและมีความเป็นธรรมชาติช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ เราจะเห็นการเลือกใช้คอนกรีตดิบ ๆ สลับด้วยงานไม้ดำเนินต่อเนื่องตั้งแต่ผนังชั้นล่างถึงเพดานชั้นสอง ในขณะที่บางส่วนก็ตกแต่งกระเบื้องเคลือบ แผ่นหินที่ตกแต่งจากคอร์ทภายในไปยังส่วนหน้าด้านนอก องค์ประกอบของเฟอร์นิเจอร์ เช่น หัวเตียงไม้แกะสลักแบบสั่งทำในห้องนอนใหญ่ก็เป็นความพยายามสร้างความต่อเนื่องของอารมณ์และบรรยากาศให้สอดคล้องกับภายนอกเช่นกัน

 แบบบ้าน สไตล์โมเดิร์น

ด้วยแบบแปลนที่ตัวอาคารใช้พื้นที่เกือบทั้งหมดที่สร้างได้ ทำให้บริเวณรอบบ้านไม่มีพื้นที่สีเขียว เราจะเห็นการจัดคอร์ทยาร์ดวางต้นไม้เพิ่มความสดชื่นเป็นจุด ๆ  และสร้างขอบเขตเล็กๆ ของภูมิทัศน์ภายนอกชานหรือระเบียง จัดเป็นสวนไผ่ สวนน้ำให้เย็นฉ่ำชื่นใจ

ในบ้านตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป ตามปกิแล้ว เราจะเห็นว่าการแบ่งระหว่างชั้นจะใช้วิธีเทพื้นหรือวางพื้นสำเร็จรูปปิดทั้งชั้น มีช่องว่างเพียงโถงบันไดเท่านั้น ด้วยการก่อสร้างแบบนี้จะทำให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นทำได้ยาก การเดินทางของแสง และระบบการไหลเวียนอากาศในอาคารจากชั้นล่างลอยตัวขึ้นสู่ชั้นบนได้ยากขึ้น บ้านใหม่ๆ จึงเลือกแก้ปัญหานี้ด้วยการสละพื้นที่ส่วนหนึ่งเจาะเป็นโถงสูงขึ้นไป ทำให้แสงกระจายไปยังพื้นที่รอบช่องว่างได้ดีขึ้น การหมุนเวียนและระบายอากาส รวมถึงการติดต่อมองเห็นระหว่างชั้นก็ดีตามไปด้วย

บ้าน 3 ชั้น เหมาะกับใคร

จำนวนชั้นของบ้าน เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณา และยังบอกได้ว่าบ้านที่ต้องการซื้อนั้นเหมาะกับการอยู่อาศัยหรือไม่ โดยปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยให้เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งเป็นเทรนด์หลังจากการมาของโควิด-19 ด้วยความที่บ้าน 3 ชั้น มีความโดดเด่นในเรื่องพื้นที่ใช้สอยที่มีเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ได้รับความสนใจ โดยบ้าน 3 ชั้น เหมาะกับคนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่มากยิ่งขึ้น และอื่น ๆ ตามเช็กลิสต์ 10 ข้อ ดังต่อไปนี้

 แบบบ้าน สไตล์โมเดิร์น

1. เคยอยู่อาคารพานิชย์มาก่อน ชินกับการอยู่อาศัยหลายชั้น

2. ต้องการพื้นที่ใช้สอยที่เพิ่มมากขึ้น เช่น ช่วงที่ต้อง Work From Home

3. ต้องการความเป็นส่วนตัว เป็นสัดเป็นส่วน อยู่กันละชั้น

4. ครอบครัวใหญ่ จำนวนสมาชิกอาศัยอยู่ร่วมกันหลายคน

5. ต้องการจำนวนห้องที่เพียงพอกับจำนวนสมาชิก เช่น ห้องนอน 3 ห้อง หรือมากกว่า

6. รองรับครอบครัวขยาย จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นในอนาคต

7. ไม่มีผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ด้วย เพราะการขึ้นลงบ้าน 3 ชั้น ทำได้ลำบาก

8. หากมีผู้สูงอายุ ต้องมีห้องนอนผู้สูงอายุชั้นล่าง สามารถปรับเปลี่ยนได้

9. เปิดบริษัททำธุรกิจ ปรับเปลี่ยนบ้าน 3 ชั้น เป็นออฟฟิศ สำนักงาน

10. มีงบประมาณ บ้าน 3 ชั้น ส่วนใหญ่ราคาแพง และอยู่ในทำเลเมือง

บ้าน 3 ชั้น มีลักษณะอย่างไร

บ้าน 3 ชั้น คือ บ้านที่มีลักษณะพื้นที่ต่างระดับในแนวดิ่ง 3 ระดับ ทั้งชั้น 1 ชั้น 2 และชั้น 3 โดยพื้นที่แต่ละชั้นมีอัตราส่วนเท่า ๆ กันโดยขนาดจำนวนชั้น มีส่วนสำคัญในการตอบโจทย์การอยู่อาศัย เพราะการสร้างที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน จะมุ่งเน้นการใช้พื้นที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุด แม้จะมีพื้นที่จำกัด เช่น การขยายพื้นที่บ้านด้วยการปลูกสร้างจำนวนมากชั้น การจัดวางและตกแต่งภายในให้ได้สัดส่วน การสร้างบ้านเกือบเต็มพื้นที่ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดไว้ และคำนึงถึงระยะร่นและที่เว้นว่างด้วย

สิ่งที่ต้องคำนึงก่อนซื้อบ้าน 3 ชั้น

1. ความต้องการ ฟังก์ชั่น และขนาดพื้นที่ใช้สอย

การกำหนดความต้องการใช้งานในบ้านหรือฟังก์ชั่นของบ้าน มีผลต่อขนาดพื้นที่ใช้สอย จำนวนชั้นและลักษณะของบ้าน เช่น ซื้อบ้าน 3 ชั้น เพื่อเตรียมขยายครอบครัว จึงต้องการจำนวนห้องที่มากขึ้น เพื่อรองรับจำนวนสมาชิก หรือเพื่อทำธุรกิจควบคู่ด้วย เช่น เปิดเป็นโฮมออฟฟิศ หรือปล่อยเช่าบางส่วน

ก่อนซื้อบ้านจึงควรเช็กลิสต์ความต้องการว่า บ้าน 3 ชั้น เหมาะและตอบโจทย์หรือไม่ เพื่อปรึกษาสถาปนิกให้ออกแบบตรงตามความต้องการกรณีสร้างบ้าน 3 ชั้น หรือเลือกแบบบ้านที่ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด ในกรณีที่ซื้อบ้าน 3 ชั้น โครงการหมู่บ้านจัดสรร

2. ขนาดที่ดิน

ขนาดที่ดิน เป็นอีกหนึ่งข้อคำนึงก่อนตัดสินใจเลือกแบบบ้านชั้นเดียว บ้าน 2 ชั้น หรือบ้าน 3 ชั้น เนื่องจากการสร้างบ้านมีกฎหมายควบคุม ซึ่งต้องคำนึงถึงระยะร่นแนวอาคาร ดังนั้น ต้องรู้ขนาดที่ดินเพื่อหักลบระยะร่นออกไป จากนั้นจึงพิจารณาความเหมาะสมในการสร้างบ้านให้เหมาะสมกับขนาดที่ดิน เช่น หากมีที่ดินขนาดใหญ่ จะสามารถสร้างบ้านชั้นเดียวหรือบ้าน 2 ชั้นได้ตามฟังก์ชั่นการใช้งาน

แต่หากมีที่ดินขนาดเล็ก ซึ่งเมื่อหักลบระยะร่นออกแล้ว การสร้างบ้าน 2 ชั้นหรือบ้าน 3 ชั้น อาจเหมาะสมกว่า เพราะสามารถเพิ่มขนาดพื้นที่ใช้สอยในทางสูงได้นั่นเอง

3. ทำเลที่ตั้ง

ด้านทำเลที่ตั้ง ควรดูบริบทโดยรวมว่าที่ดินอยู่ในทำเลไหน เช่น ทำเลเมือง พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ต้องรู่ก่อนซื้อบ้าน สภาพแวดล้อมโดยรอบ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบบ้าน ลักษณะของบ้านที่จะสร้างหรือซื้อจึงต้องพิจารณาด้านทำเลที่ตั้งร่วมด้วยตามความเหมาะสม และนำมาเปรียบเทียบกัน เช่น ซื้อบ้าน 3 ชั้น ทำเลเมือง ราคาที่ดินแพง ราคาบ้านก็สูงตามไปด้วย หรือจะเป็นบ้าน 3 ชั้น ในโครงการหมู่บ้านจัดสรร ขยับออกทำเลชานเมือง เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง หรือบ้านใต้ถุนสูง ในเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้ำท่วม เป็นต้น

 แบบบ้าน สไตล์โมเดิร์น

3. งบประมาณ

ไม่ว่าจะซื้อบ้าน หรือสร้างบ้าน ต้องมีงบประมาณที่พร้อม ควรรู้ความสามารถการกู้ของตนเอง คำนวณวงเงินกู้สูงสุด เพื่อตรวจสอบยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับการพิจารณาจากธนาคารและยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน รวมทั้งควรเก็บออมเงินดาวน์

แม้ว่าปัจจุบันจะมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV ทำให้ผู้ซื้อกู้ได้เต็ม 100% โดยไม่ต้องวางเงินดาวน์ แต่โดยปกติแล้วธนาคารจะปล่อยสินเชื่อกู้บ้านได้สูงสุด 90% ของราคาบ้าน

เช่นเดียวกันในกรณีสร้างบ้าน 3 ชั้น ก็มีเรื่องของวัสดุก่อสร้าง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ควรศึกษาข้อมูล หรือปรึกษาสถาปนิกก่อนตัดสินใจเช่นเดียวกัน

4. ค่าส่วนกลาง

ค่าส่วนกลางคิดตามขนาดที่ดิน/พื้นที่ใช้สอย ยิ่งมีขนาดที่ดินหรือพื้นที่ใช้สอยมาก ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีผู้อยู่อาศัยมากขึ้น ส่วนใหญ่จึงกำหนดให้การคำนวณค่าส่วนกลางคิดตามตารางวาสำหรับโครงการหมู่บ้านจัดสรรหรือคิดเป็นตารางเมตรสำหรับโครงการคอนโด

5. ค่าบำรุงรักษา

การซื้อที่อยู่อาศัย มีรายจ่ายอีกมากมายที่ต้องนำมาคิดคำนวณด้วย ไม่ว่าจะเป็น ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ค่าจดจำนอง ค่าส่วนกลาง ค่าประกันภัย ค่าน้ำ-ค่าไฟ และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบ้าน

สำหรับบ้าน 3 ชั้น นอกจากตอบโจทย์การอยู่อาศัย การดูแลรักษาก็เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา เมื่อบ้านมีจำนวนชั้นเพิ่มมากขึ้น พื้นที่ใช้สอยมากขึ้น จึงมีหลาย ๆ จุดภายในบ้านที่ต้องตรวจเช็กและดูแลมากขึ้น กรณีที่เกิดความชำรุด เสียหาย ต้องเสียค่าบำรุงรักษาที่เพิ่มมากขึ้น เช่น ทาสีใหม่ อุดซ่อมแซมรอยแตกร้าว น้ำรั่ว กำจัดปลวก และที่สำคัญ คือ การดูแลทำความสะอาดที่เหนื่อยขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน

หลังจากรู้แล้วว่าบ้าน 3 ชั้น เหมาะกับใคร บ้าน 3 ชั้น มีลักษณะอย่างไร และสิ่งที่ต้องคำนึงก่อนซื้อบ้าน 3 ชั้นนั้นมีอะไรบ้าง เพื่อช่วยให้การตัดสินใจเลือกแบบบ้านได้ง่ายขึ้นแล้ว ควรสอบถามความเห็นชอบจากสมาชิกในครอบครัวที่ต้องอยู่อาศัยร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนในบ้าน รวมทั้งเจ้าของบ้านอยู่แล้ว ตอบโจทย์การอยู่อาศัย และเติมเต็มความสุขได้ครบในทุกมิติ