แบบบ้านเขตร้อน

แบบบ้านเขตร้อน

แบบบ้านเขตร้อน 1

แบบบ้านเขตร้อน เดินทางเข้าสู่หน้าร้อนกันอย่างสมบูรณ์แบบแล้วสำหรับประเทศไทย แนวคิดงานออกแบบสถาปัตยกรรมให้สอดคล้องกับสภาพอากาศบ้านเรานั้นถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะทำให้ผู้อยู่อาศัยแต่ละพื้นที่อยู่ได้แบบสบายๆ โดยเฉพาะหน้าร้อนที่อากาศอบอ้าวแล้ว ยังมีผลต่อในทุกฤดูกาลด้วย ซึ่ง “Tropical Architecture” ก็ถือเป็นผลงานออกแบบสำหรับผู้อยู่อาศัยในเขตร้อน รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย วันนี้ Dsign Something จึงได้รวบรวมแบบบ้าน Tropical ทั้งไทยและเทศ มาให้ชมกัน

บ้านทิวสน…บ้านสไตล์โมเดิร์นทรอปิคอล ท่ามกลางสวนสวยและต้นสน
Architect:
 Polar Architect
Photograph: Chaovarith Poonphol

“บ้านทิวสน” เริ่มต้นจากการที่เจ้าของบ้านเป็นผู้หลงใหลในธรรมชาติและชื่นชอบการปลูกต้นไม้เป็นอย่างยิ่ง จึงมีแนวคิดที่ต้องการให้บ้านเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ แสงแดดและสายลมพัดผ่านเข้ามาได้เกือบทุกมุม ไม่ว่าจะนั่งตรงไหนก็สามารถสัมผัสได้ถึงสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวตลอดเวลา สามารถมองเห็นต้นสนและสวนที่เจ้าของบ้านปลูกด้วยตนเอง อีกทั้งเลือกใช้วัสดุที่นำมาจากธรรมชาติ ถือว่าเป็นการสร้างความกลมกลืนระหว่างบ้านและธรรมชาติได้อย่างแนบเนียน

การตกแต่งบ้านทั้งในและนอกอาคารถูกออกแบบภายใต้แนวคิดสไตล์ “โมเดิร์นทรอปิคอล” โดยจะเห็นได้จากวัสดุที่เป็นไม้ อิฐ และการออกแบบชายคายื่น เพื่อบังแดดและระบายอากาศ อย่างแผงไม้ด้านหน้าและด้านข้างของอาคาร โดยสถาปนิกได้กำหนดองศาการยกขึ้นลงของแต่ละบานไว้จากการคำนวณมาเป็นอย่างดี และมี Facade ระแนงไม้ที่เป็น Double Skin ช่วยกรองแสงแดดและความร้อนเข้าสู่พื้นที่อยู่อาศัยอีกด้วย

สถานที่ตั้งของบ้านหลังนี้อยู่ที่จังหวังสมุทรสาคร แต่เดิมเป็นพื้นดินโล่ง สภาพแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติ มีต้นสนซึ่งปลูกเรียงกันเป็นแนวยาว 6 ต้น  ในเวลากลางวันจะมีร่มเงาจากต้นไม้พาดผ่านมายังบริเวณบ้าน เป็นการช่วยลดไอร้อนจากแสงแดด และเพิ่มความร่มรื่นให้กับตัวบ้านมากขึ้น  อีกทั้งสถานที่ตั้งของบ้านมีความเงียบสงบ ปราศจากสิ่งรบกวน เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่ไม่ค่อยมีคนมาใช้มากนักลักษณะ บ้านในเขตร้อนชื้น

บ้านหลังนี้ออกแบบโดย Polar Architects มีพื้นที่ 150 ตารางเมตร และงบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 6 ล้าน ซึ่งเจ้าของบ้านใช้ไม้จริงในการตกแต่ง

จากต้นสนที่รายล้อมรอบตัว….จึงกลายเป็น บ้านทิวสน

บ้านทิวสนเริ่มต้นจากเจ้าของบ้าน ซึ่งเป็นผู้ที่หลงรักในธรรมชาติและชื่นชอบในการปลูกต้นไม้อย่างยิ่ง โดยความปรารถนาของเขาคือการมีบ้านหลังเล็ก บรรยากาศสบายๆ รายล้อมด้วยสวนสวย ที่ปลูกและเฝ้าดูแลด้วยตัวของเขาเอง

แนวคิดของบ้านทิวสน คือบ้านจะกลายเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ แสงแดดและสายลมจะพัดผ่านเข้ามาได้เกือบทุกมุมภายในบ้าน ไม่ว่าจะนั่งตรงไหนก็สามารถสัมผัสได้ถึงสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวตลอดเวลา และด้วยการออกแบบแพลนนิ่ง ช่องเปิด มุมมอง ทำให้สามารถมองเห็นต้นสนและสวนที่เจ้าของบ้านปลูกด้วยตนเอง อีกทั้งการเลือกใช้วัสดุที่นำมาจากธรรมชาติ จึงเป็นการสร้างความกลมกลืนระหว่างบ้านและธรรมชาติได้อย่างแนบเนียน แบบบ้านสองชั้น สไตล์บ้านสวน

เนื่องจากภูมิอากาศของประเทศไทยเป็นแบบร้อนชื้น การออกแบบบ้านที่โล่ง และโปร่ง ลมจะสามารถพัดผ่าน ช่วยระบายอากาศและความร้อนในบ้านได้ดี การตกแต่งบ้านทั้งในและนอกอาคารถูกออกแบบภายใต้แนวคิดสไตล์โมเดิร์นทรอปิคอล โดยจะเห็นได้จากการใช้วัสดุที่เป็นไม้ อิฐ มีการยื่นชายคาเพื่อบังแดดและระบายอากาศ นอกจากนั้นยังมีช่องเปิดกว้างหลายแห่งภายในบ้านอีกด้วย

แผงกันแดด…ที่เปิดรับลม

แบบบ้านเขตร้อน 2

แผงไม้อยู่บริเวณด้านหน้าและด้านข้างของอาคาร มีหน้าที่กรองแสงแดด โดยถูกกำหนดองศาของแต่ละบานจากการคำนวณของสถาปนิกไว้แล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถเปิด-ปิด หรือเลื่อนขึ้นลงได้ ซึ่งการทำเช่นนี้สามารถเพิ่มความโปร่งให้กับบ้านได้ โดยใช้รูปแบบ Facade จากระแนงไม้เป็นตัวช่วยนั่นเอง

การใช้งานภายในอาคาร

สถาปนิกต้องการเปิดมุมมองภายในบ้าน เพื่อให้สามารถมองเห็นสวนด้านหน้าบ้านได้ จึงวางตัวบ้านให้หันหลังชิดแนวต้นสนและรั้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ออกแบบพื้นที่ชมสวน หรือพื้นที่อเนกประสงค์(Multi-purpose area)ที่อยู่ในบริเวณชั้น 2 เพื่อสร้างมุมมองที่เปิดกว้างให้กับผู้ใช้งาน โดยสามารถมองเห็นต้นไม้หลากหลายขนาดได้จากบนบ้าน

บ้านทิวสนเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น โดยบริเวณชั้น 1 เป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ (Semi-Public) อย่างห้องรับแขก ห้องครัว และห้องรับประทานอาหาร  รวมไปถึงห้องน้ำสำหรับแขก

ชั้น 2 เป็นพื้นที่ส่วนตัวที่ออกแบบมาให้เข้ากับบุคลิกและความชอบของเจ้าของบ้านโดยเฉพาะ ประกอบไปด้วย ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องแต่งตัว และยังมีการเพิ่มพื้นที่ส่วนตัวด้วยการมีโถงชมสวน โดยเจ้าของบ้านเป็นผู้ออกแบบและสร้างในส่วนนี้ขึ้นมาด้วยตนเอง

โถงชมสวน หัวใจของบ้าน

โถงชมสวนเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามต้องการ ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจของบ้าน มีไว้สำหรับเป็นพื้นที่นั่งพักผ่อน และชมวิวสวนที่เจ้าของบ้านใส่ใจปลูกและดูแลอย่างดี จากข้างบนเมื่อมองลงมาพื้นที่ข้างล่างจะพบกับแนวต้นสนทั้ง 6 ต้น

บันไดขึ้นสู่ชั้น 2 อยู่ในส่วนนอกอาคารซึ่งเปิดโล่งและอยู่ด้านหลังตัวบ้าน เพื่อไม่ให้บันไดปิดกั้นมุมมองการชมสวนจากพื้นที่โถงด้านหน้า

มีการเจาะผนังด้านหลังห้องโถงชมสวน เป็นวงกลมขนาดใหญ่ คนในบ้านจะสามารถมองเห็นสภาพแวดล้อมภายนอกบ้าน และเป็นการสร้างความสำคัญให้กับต้นสนด้านหลังซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่

หลังคาจั่ว ด้านหลังจะมีความลาดเอียงมากกว่าด้านหน้า เพื่อระบายเศษใบไม้ของต้นสนที่ร่วงลงมา ช่วยลดความอันตรายที่จะเกิดขึ้นในเรื่องน้ำหนักของเศษใบไม้และป้องกันการเกิดอัคคีภัย อีกทั้งช่องเปิดบนฝ้าเพดานบางส่วนจะใช้กระจก เพื่อเป็นการเปิดมุมมองให้กับผู้ใช้งาน ให้รู้สึกถึงแนวของต้นสนที่โอบล้อมรอบบ้านอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านทิวสน นี่เอง

เพื่อความรวดเร็วในการก่อสร้างจึงใช้โครงสร้างเหล็ก อิฐ และกระจกเป็นวัสดุหลัก และยังมีการใช้ไม้จริงเพื่อสร้างความกลมกลืนให้บ้านเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติอีกด้วย

บ้านที่เกิดจากความรักและความต้องการของเจ้าของ ก่อเกิดเป็นบ้านทิวสนที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติน้อยใหญ่รอบบ้านได้อย่างกลมกลืน เป็นบ้านที่ไม่ได้เพียงแค่ความงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังประกอบไปด้วยการที่ผู้คนในบ้านสามารถอาศัยอยู่ในบ้านได้อย่างมีความสุข และตอบโจทย์การใช้งานอย่างตรงตามความต้องการ…

เอกลักษณ์สำคัญของ การออกแบบ Modern Tropical คือ การสร้างสเปซที่โปร่งโล่งขนาดใหญ่ด้วยเส้นสายการออกแบบที่เรียบง่าย คำนึงถึงสภาพอากาศ และภูมิประเทศเป็นปัจจัยหลัก

ยินดีต้อนรับผู้อ่านทุกท่านสู่หน้าร้อน ฤดูแห่งการออกเที่ยวตามประสาคนเมืองร้อน แม้ความจริงแล้วเราจะอยู่กับสภาพอากาศร้อนอบอ้าวมาเกือบตลอดทั้งปี  แต่ทำอย่างไรก็ยังคงไม่ชินกับอากาศร้อนเสียที เราเลยอยากนำเสนอรูปแบบการดีไซน์สถาปัตยกรรมแบบฉบับพื้นที่เขตร้อน ว่าเราจะออกดีไซน์อาคารอย่างไรถึงจะอยู่ร่วมกันอย่างสบายใจกับแสงแดดจากดวงอาทิตย์

จริงๆ แล้วรากฐานการออกแบบสถาปัตยกรรมมีปัจจัยเรื่องภูมิอากาศและภูมิประเทศเป็นส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากเลยละครับ บ้านเรือนในพื้นที่แถบเส้นศูนย์สูตร Tropical Zone จึงต้องมีคุณสมบัติรับมือกับอุณหภูมิความร้อนให้ดี ซึ่งสไตล์การออกแบบ Modern Tropical จะเน้นไปที่วิธีตกแต่งและออกแบบบ้านให้เข้ากับภูมิประเทศที่สภาพอากาศร้อนชื้น นำเอาวัสดุพื้นถิ่นที่หาได้มาประยุกต์ใช้ภายใต้รูปลักษณ์ที่ดูร่วมสมัยใหม่มากขึ้น ปรับแต่งองค์ประกอบอาคารให้เรียบง่าย แต่ยังคงเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ และ Modern Tropical Style ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในแถบเอเชียเท่านั้น แต่หมายรวมถึงโซนพื้นที่เขตร้อนอื่นๆ ทั่วโลก ทำให้เรามองเห็นรูปแบบสถาปัตยกรรมเขตร้อนในแต่ละแห่งมีเสน่ห์แตกต่างกันไป

จริงๆ แล้วรากฐานการออกแบบสถาปัตยกรรมมีปัจจัยเรื่องภูมิอากาศและภูมิประเทศเป็นส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากเลยละครับ บ้านเรือนในพื้นที่แถบเส้นศูนย์สูตร Tropical Zone จึงต้องมีคุณสมบัติรับมือกับอุณหภูมิความร้อนให้ดี ซึ่งสไตล์การออกแบบ Modern Tropical จะเน้นไปที่วิธีตกแต่งและออกแบบบ้านให้เข้ากับภูมิประเทศที่สภาพอากาศร้อนชื้น นำเอาวัสดุพื้นถิ่นที่หาได้มาประยุกต์ใช้ภายใต้รูปลักษณ์ที่ดูร่วมสมัยใหม่มากขึ้น ปรับแต่งองค์ประกอบอาคารให้เรียบง่าย แต่ยังคงเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ และ Modern Tropical Style ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในแถบเอเชียเท่านั้น แต่หมายรวมถึงโซนพื้นที่เขตร้อนอื่นๆ ทั่วโลก ทำให้เรามองเห็นรูปแบบสถาปัตยกรรมเขตร้อนในแต่ละแห่งมีเสน่ห์แตกต่างกันไป

ต้นไม้และอาคารเป็นหนึ่งเดียวกัน

นอกเหนือจากรายละเอียดการออกแบบตัวสถาปัตยกรรมแล้ว สิ่งแวดล้อมภายนอกก็นับเป็นส่วนสำคัญ เพราะต้องสร้างการเชื่อมต่อพื้นที่ด้านในและด้านนอกให้สามารถรับรู้จากประสาทสัมผัส มองเห็น ได้ยินเสียง เดินไปมาถึงกันได้ การจัด Landscape ทั้งภายในและส่วนรายล้อมรอบอาคารก็ควรจะต้องออกแบบมาให้สอดรับการใช้งานเป็นหนึ่งเดียวกัน มุมไหนของบ้านที่เป็นชานระเบียง ออกมาพักผ่อนนอนเล่น ก็ควรสร้างงานภูมิสถาปัตยกรรมสีเขียวเข้าไปต้อนรับจุดนั้นเอาไว้

เลือกใช้สีโทนพออุ่น ไม่ถึงกับร้อนแรงอย่างแนวเอิร์ทโทน ให้ความสว่าง แบบไม่ฉูดฉาดจนเกินไป เอิร์ทโทนคือ กลุ่มสีเบจ ครีม น้ำตาลอ่อน ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสีแห่งธรรมชาติ พื้นดิน หิน ต้นไม้ เหมือนเป็นการโชว์เนื้อสีของวัสดุจากธรรมชาติมาใช้งานในการตกแต่งอาคาร ไม้ไผ่ ไม้โอ๊คย้อมสี เส้นหวาย แซมด้วยความเขียวขจีของใบไม้ ความมีชีวิตชีวาของดอกไม้เขตร้อนพันธุ์ต่าง ๆ เพิ่มเติมความสดชื่นให้พื้นที่ภายในอาคารได้อย่างดี

ตกแต่งด้วยวัสดุจากธรรมชาติ

อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่า Modern Tropical Style ได้รับแรงบันดาลเรื่องสีสันจากของที่มีอยู่ในธรรมชาติ วัสดุที่นำมาใช้งานออกแบบก็ต้องใช้วัสดุตามธรรมชาติด้วยเช่นกัน วัสดุที่นิยมใช้กันในบ้านเราก็คือไม้ในโครงสร้างหลังคาผสมกับผนังปูน หรือวัสดุอื่นๆ ที่ซื้อหาได้ง่าย อย่างเช่น ไม้ไผ่ สามารถนำมาทำเป็นม่านบังแสง กำแพงรั้ว ผนังอาคาร ไปจนถึงโครงสร้างรับน้ำหนักหลัก ลองนำจัดวาง สานต่อกันด้วยแพทเทิร์นสมัยใหม่ ก็จะทำให้วัสดุที่ให้ความยืดหยุ่นสูงสามารถขยายประสิทธิภาพการใช้งานออกไปได้อีก

แบบบ้านเขตร้อน 3