บ้านไม้หลังคาจั่ว
บ้านไม้หลังคาจั่ว บ้านแต่ละหลังที่เจ้าของบ้านมีส่วนร่วมในการออกแบบจะมีคาแรกแตอร์ในแบบฉบับของตัวเอง ตั้งแต่ผนังถึงหลังคาซ่อนรายละเอียดที่เป็นความชอบ ในมุมมองที่อาจไม่ได้ดูสมบูรณ์แบบในมาตรฐานสายตาคนทั่วไป แต่เน้นถูกใจผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก อย่างไรก็ตามบ้านจำนวนไม่น้อยในปัจจุุบันต้องการคำแนะนำเรื่องดีไซน์ ฟังก์ชัน และวัสดุจากสถาปนิก ดังนั้นการมองหาสถาปนิกที่เข้าใจในความรู้สึกหรือจินตนาการในใจของผู้เป็นเจ้าของที่สอดคล้องกัน อย่างเช่นบ้านนี้ที่เจ้าของบ้านมองว่า ขั้นตอนการออกแบบหรือสร้างบ้านจะมีความสุขก็ต่อเมื่อคุณได้เจอสถาปนิกที่เข้าใจอารมณ์บ้านแบบธรรมชาติเหมือนๆ กัน อ่านเพิ่มเติม
บ้านหลังคาหน้าจั่ว
บ้านหลังนี้สร้างอยู่ใน Gyeonggi-do ประเทศเกาหลีใต้ พื้นที่อาคาร 110.46 ตารางเมตร คู่สามีภรรยาที่เป็นเจ้าของต้องการสร้างบ้านอยู่อย่างง่ายๆ ในโซนเงียบสงบ เพื่อรับธรรมชาติที่รายล้อม ต้นไม้ สายลมเย็น ๆ ท้องฟ้าแสนสดใส ในขณะเดียวกันก็อยากได้ความสบาย ฟังก์ชันใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ สภาพภูมิอากาศ ควบคู่บรรยากาศของบ้านที่เคยคุ้นของคุณปู่คุณย่าที่มาอาศัยอยู่ด้วย ฟังดูเหมือนทุกอย่างจะสวนทางกันไปหมด แต่สถาปนิกกลับเข้าใจและสานฝันให้เป็นรูปเป็นร่างได้อย่างดี
ทีมงานแก้โจทย์ด้วยการสร้างบ้านชั้นเดียว ภายนอกกรุผนังด้วยไม้ดูอบอุ่น หลังคาเปลี่ยนจากวัสดุกระเบื้องแบบพื้นถิ่นเป็นเมทัลชีทที่เรียบคมทันสมัย มองจากด้านข้างจะเหมือนตัวบ้านบนพื้นเลย แต่ถ้าดูภายในจะเห็นว่าบ้านถูกยกสูงจากพื้นเล็กน้อย เพื่อป้องกันความชื้นและความเย็นเข้าสู่ตัวบ้านในฤดูหนาว ความน่าสนใจของบ้านนี้คือ ทุกด้านของบ้านไม่เหมือนกัน ด้านหนึ่งเป็นอาคารสองหลังที่ถูกผ่ากลางด้วยลานกรวด อีกด้านหนึ่งเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวหลังคาจั่วสีดำเรียบง่าย และถ้ามองจากด้านบนจะเห็นหลังคาที่ถูกเจาะเป็นที่ว่างหายไปบางส่วนกลายเป็นบ้านรูปตัว C สำหรับบางคนอาจรู้สึกเหมือนบ้านไม่สมบูรณ์ แต่กับเจ้าของบ้านนี้กลับตอบโจทย์ชีวิตได้อย่างดี
บ้านนี้ต้องสู้กับหิมะและฝน หลังคาที่มีองศาลาดเอียงจะช่วยให้ฝนระบายลงจากหลังคาได้รวดเร็ว ส่วนลานกรวดตรงกลางก็ทำหน้าที่ซับน้ำฝนไม่ไห้กระเด็นทำร้ายตัวบ้านที่เป็นไม้ การใส่คอร์ทยาร์ดเปิดออกสู่ท้องฟ้าตรงกลาง ยังช่วยให้บ้านได้รับบรรยากาศธรรมชาติได้ทั้งสองด้าน สามารถมองเห็นมีส่วนร่วมกับพื้นที่กลางแจ้งได้แม้ในวันที่สภาวะอากาศไม่เป็นใจ ผนังกระจกขนาดใหญ่เปิดรับแสงเข้าสู่ภายในอาคาร ทำให้บ้านเพิ่มความอบอุ่นในช่วงเวลาที่หนาวเหน็บ
ห้องนั่งเล่นสำหรับคุณปู่ที่รักการดูซีรีส์ในช่วงกลางวัน และห้องอ่านหนังสือสำหรับคุณย่า พร้อมทั้งห้องนอนของผู้สูงวัยอยู่ชั้นล่างสุด พื้นบ้านปูวัสดุลายไม้กันลื่น ทำให้การใช้งานสะดวกและปลอดภัย
ห้องนอนตกแต่งด้วยไม้ระแนง ผสมผสานเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน มีหน้าต่างกระจกแบบชนมุมที่เป็นองค์ประกอบบ้านยุคใหม่ วางคู่กับเครื่องเรือนเก่า ๆ เช่น เตียงไม้ ตู้โบราณได้อย่างไม่ขัดเขิน บนเพดานกรุฝ้าตามแนวหลังคาที่เฉียงสูงแบบ lean-to ทำให้รู้สึกถึงสเปซที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีช่องเปิดให้มองเห็นความเคลื่อนไหวนอกบ้าน รับแสง รับลมได้ ในขณะที่ยังคงความเป็นส่วนตัวอยู่
แสงที่ตกกระทบลานกรวดแล้วกระจายเข้าสู่ตัวบ้านผ่านกระจกใสเป็นแนวตรงกลางในชั้นล่าง เป็นแสงที่สบายตา เพราะเม็ดกรวดไม่ทำให้เกิดเงาและไม่สะท้อนให้ระคายเคืองตา ภายในตกแต่งด้วยงานไม้ ป้ายผ้าที่มีกลอนโบราณ ทำให้ผู้สูงวัยไม่รู้สึกแปลกแยกเมื่อต้องอาศัยอยู่ที่นี่
ความสูงของหลังคาในแต่ละด้านของบ้านไม่เท่ากัน เพราะมีบางส่วนของหลังคาจั่วถูกตัดออกกลายเป็นบ้านเพิงหมาแหงนเฉียงสูงหันหน้าชนกัน จึงแบ่งพื้นที่ทำชั้นลอยใต้หลังคา สำหรับเป็นห้องนั่งเล่น อ่านหนังสือใต้หลงคาที่มีแสงจากผนังกระจกใต้หลังคาส่องถึง สามารถปรับเปลี่ยนเป็นห้องนอนเพิ่มเติมได้เมื่อมีสมาชิกในบ้านเพิ่มขึ้น นับว่าเป็นบ้านที่ออกแบบมาให้ใช้ชีวิตในปัจจุบันได้ดี และมองไปถึงอนาคตอย่างมีวิสัยทัศน์
เมื่อคุณปู่คุฯย่าได้นั่งลงบนพื้น มองดูสนามหญ้าที่ว่างเปล่า และหันกลับเข้ามาดูตัวบ้านที่คล้ายกับบรรยากาศบ้านที่เคยอาศัย ซึ่งจะมีเฉลียงและชานบ้านสำหรับนั่งคุยกันยามว่างจากเก็บผลผลิต ในชุมชนแบบเกษตรกรรมดั้งเดิม เป็นช่วงเวลาแห่งจิตวิญญาณที่ซึมซับตัวเองมาอย่างเต็มที่แล้วถูกถ่ายทอดมาสู่บ้านนี้ เพียงแต่หน้าตาอาจจะเปลี่ยนไปเล็กน้อย แต่ก็พร้อมเติมเต็มความอบอุ่นให้ครอบครัวในฟังก์ชันใหม่ๆ
การออกแบบบ้านเพื่ออยู่อาศัยร่วมกับผู้สูงวัย สิ่งที่ต้องคำนึงถึไม่ใช่เพียงการเลือกวัสดุที่เหมาะสม ไม่ลื่น การดีไซน์บ้านให้ใช้งานสะดวกไม่มีจุดที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มแล้ว ยังต้องคำนึงถึงบรรยากาศในการอยู่อาศัยด้วย เพราะคนชรามักจะติดอยู่กับความทรงจำเดิมภายในบ้าน ฟังก์ชันที่คุ้ยเคย และเฟอร์นิเจอร์ที่ชื่นชอบตามยุคสมัย การปรับเปลี่ยนบ้านให้โมเดิร์น ทันสมัย ด้วยดีไซน์ วัสดุ เครื่องใช้ รวมถึงฟังก์ชันใช้งานที่ไม่ถนัด จะสร้างความรู้สึกแปลแยก จึงต้องหาจุดเชื่อมต่อรหว่างเจเนอเรชัน เพื่อให้คนทุกรุ่นได้เป็นเจ้าของบ้านที่ใช้ทุกพื้นที่ร่วมกันได้จริง
ข้อดี
- แม้ไม้จะมีคุณสมบัติป้องกันความร้อนได้ไม่ดีนัก แต่ก็ถ่ายเทความร้อนได้รวดเร็ว บ้านที่ปลูกสร้างบ้านด้วยไม้จึงเย็นสบาย ไม่อบอ้าว เป็นคุณสมบัติที่วัสดุอื่นๆ ทําไม่ได้ เหมาะกับสภาพอากาศเมืองร้อนชื้นแบบไทย
- ไม้มีเสน่ห์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นสีสันลวดลายที่ไม่ซ้ํากันในแต่ละแผ่นหรือท่อน ผิวสัมผัสที่ให้ความรู้สึกถึงธรรมชาตินุ่มนวล ไม้จึงเป็นวัสดุในอุดมคติของทั้งเจ้าของบ้านและนักออกแบบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
- ในเรื่องของความแข็งแรง หากเกิดแผ่นดินไหว บ้านไม้จะมีความยืดหยุ่น คงทน และแข็งแรง
- อย่าเข้าใจผิดว่าบ้านไม้เป็นสิ่งทำลายธรรมชาติ เพราะไม้เมื่อนำมาใช้แล้วเราสามารถกลับไปปลูกทดแทนได้ ต่างจากบ้านปูนที่จะได้มาต้องระเบิดภูเขา
ข้อเสีย
- มักจะมีเสียงดังเอี๊ยดอ๊าดเวลาเดิน อาจดูวังเวงในเวลากลางคืน
- สร้างบ้านไม้ก็มักจะมีปัญหาเรื่องของปลวก และแมลงต่างๆที่มากัดกินไม้ จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาไม้เป็นพิเศษ
- วัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างบ้านไม้มักจะแพง เนื่องจากไม้มีราคาที่ค่อนข้างสูงพอสมควร ยิ่งไม้เนื้อดีๆ ไม้เนื้อแข็ง ก็ยิ่งมีราคาแพง
- การหาช่างฝีมือที่มีความชำนาญในงานไม้นั้นยาก ถ้าหาได้ช่างไม่ดีคุณอาจจะเสียค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากๆขึ้นเท่าตัว
- ตัววัสดุมีการยืด-หดตามสภาพอากาศ บางครั้งจึงเกิดปัญหาบ้านรั่วซึมระหว่างช่องว่างของไม้ได้
เพิ่มเติม
- อีกทางเลือกหนึ่งในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้านไม้ คือ การสร้างบ้านไม้ผสมกับวัสดุอื่นๆ จะช่วยลดราคาค่าก่อสร้างได้มาก เช่น บ้านที่ชั้นล่างเป็นปูนและชั้นบนเป็นไม้ หรืออาจหาซื้
- อบ้านไม้เก่าแล้วรื้อเอาไม้มาใช้ก่อสร้างบ้านใหม่ ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน
- งานไม้โครงสร้างหรืองานภายนอกควรใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง และไม้ประดู่เท่านั้น เพราะมีความแข็งแรงสามารถรับแรงได้ดี อีกทั้งยังทนทานต่อการผุ ส่วนไม้สักถือเป็นไม้เนื้ออ่อน ไม้ทนแดด แต่ทนทานต่อการผุมาก เหมาะสําหรับงานภายในหรืองานเฟอร์นิเจอร์มากกว่า
วิธีการเลือกซื้อบ้านไม้
1. พิจารณาสภาพของบ้านไม้ เก่ามากหรือไม่ สร้างขึ้นมากี่ปี บ้านไม้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจสอบสภาพบ้านอย่างละเอียด เนื่องจากอาจเจอปัญหาไม้ผุ ไม้ลอก ไม้บวมน้ำ หรือโครงสร้างบ้านไม้ที่ไม่ได้มาตรฐานต่าง ๆ ที่จะต้องมีการดำเนินการแก้ไขก่อนตัดสินใจเข้าอยู่
2. บ้านไม้หลังนั้นต้องมีการซ่อมบำรุงมากน้อยแค่ไหน บ้านไม้แต่ละหลังย่อมต้องการการดูแลที่มากกว่าบ้านแบบอื่น ๆ แต่บ้านไม้ที่คุณจะเลือกซื้อนั้น ลองพิจารณาดูก่อนว่าจะต้องเสียค่าซ่อมบำรุงมากน้อยแค่ไหน คำนวณแล้วคุ้มค่ากับเงินที่จะต้องเสียไปกับการบำรุงรักษาหรือไม่
3. ราคาและมูลค่าของบ้านไม้ หากต้องการเลือกบ้านไม้ให้ประหยัด ควรจะเลือกบ้านไม้ที่สร้างผสมกับวัสดุอื่น ๆ เช่น บ้านไม้กึ่งปูน เพื่อให้ลดราคาค่าก่อสร้างลง หรือเลือกซื้อบ้านไม้เก่าแล้วรื้อไม้มาใช้ก่อนสร้างใหม่
4. เลือกบ้านไม้ที่โครงสร้างภายนอกใช้ไม้เนื้อแข็ง ตัวอย่างเช่น ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เต็ง เพราะทนทานต่อการผุ แข็งแรงทนทาน รับน้ำหนักได้ดี
วิธีการดูแลรักษาบ้านไม้ให้อยู่นาน ๆ
หลังจากตัดสินใจเลือกซื้อบ้านไม้แล้ว ก็ควรที่จะต้องทราบวิธีดูแลและบำรุงรักษาบ้านไม้ให้อยู่กับเราไปนาน ๆ โดยอาจจะเริ่มจากเรื่องง่าย ๆ ดังนี้
1. หากต้องการปรับปรุงบ้านไม้ ไม่ว่าจะเป็นการรื้อถอน การขุดลอกทาสีบ้านไม้ใหม่ ควรจะต้องทำให้เสร็จในฤดูร้อน เนื่องจากหากถึงฤดูฝนอาจจะทำให้เนื้อไม้ชื้นได้
2. ก่อนจะทาสีบ้านไม้ ควรจะป้องกันปลวกและมอดด้วยการใช้น้ำยาป้องกันแมลงกินไม้
3. หากสีบ้านไม้รอบนอกหลุดร่อน ให้ขัดสีที่เสียหายออกให้ถึงเนื้อบ้านไม้ แล้วไสผิวบ้านไม้ให้เรียบก่อนลงสีใหม่ ทาสีบ้านไม้อย่างน้อย 2-3 ชั้น เว้นระยะห่างอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
4. ควรทาสีบ้านไม้ด้วยสีย้อมไม้ที่ออกแบบมาเพื่องานไม้โดยเฉพาะ เพื่อลดการดูดซับและสูญเสียความชื้นในเนื้อไม้
5. บ้านไม้ส่วนที่อยู่กลางแจ้งหรือส่วนที่ต้องตากแดดตากฝน ควรเลือกไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้แดง ไม้ประดู่ เพราะแมลงกินไม้ไม่ชอบ
6. ควรจะขัดผิวและทาสีบ้านไม้ภายนอกด้วยสีย้อมไม้สำหรับนอกบ้านทุก 3 ปี เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งาน
7. หากต้องการทำความสะอาดบ้านไม้ส่วนที่เคลือบผิวแล้ว ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหรือผ้าชุบน้ำยาทำความสะอาดแบบอ่อน ๆ ในการเช็ดคราบสิ่งสกปรกออก
8. ควรตรวจเช็กเนื้อไม้ของบ้านไม้ทุก 4 เดือน หรือตามที่ช่างผู้เชี่ยวชาญแนะนำ