แบบบ้านสามชั้นสีขาว

แบบบ้านสามชั้นสีขาว

แบบบ้านสามชั้นสีขาว

แบบบ้านสามชั้นสีขาว หากมองเผิน ๆ เราอาจจะคิดว่าบ้านหลังนี้อยู่ในเวียดนาม เพราะบ้านเวียดนามยุคใหม่ มักจะทำฟาซาดที่มีรูพรุนคล้ายกัน แต่ไซต์นี้เป็นที่ดินในเขตเมืองขนาดพื้นที่หน้ากว้างประมาณ 9 เมตร ลึก 15 เมตร

ที่ตั้งอยู่ทางใต้ของบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย รอบที่ดินติดเพื่อนบ้านทั้งสามด้าน มีเพียงด้านหน้าที่เปิดออกสู่ถนน ดังนั้นเพื่อให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทเข้ามาในบ้านได้ สถาปนิกจึงเลือกทำเปลือกบ้านด้วยแผ่นเหล็กเจาะรูพรุนที่เปิดปิดเป็นบานหน้าต่างได้ เพื่อให้บ้านรับแสง ระบายอากาศได้ โดยที่ความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยยังคงอยู่บ้านสไตล์ฟาร์มแบบไทย

บ้านฟาซาดช่องลมและไม้เลื้อย

แบบบ้านสามชั้นสีขาว

สำหรับโจทย์ฟังก์ชันการที่เจ้าของบ้านจัดเตรียมไว้ให้สถาปนิก คือ อยากแบ่งพื้นที่เป็นห้องเช่าที่ชั้นล่าง และเป็นบ้านแบบสามห้องนอนที่ชั้นบน เมื่ออาศัยแนวคิดหลักในการสร้างพื้นที่ส่วนตัวของทุกพื้นที่ ทำให้ทีมงานเลือกทำบันไดทางขึ้นสู่ชั้นสองแยกต่างหากทางด้านข้าง เพื่อให้เจ้าของบ้านเข้าสู่พื้นที่ของตัวเองได้โดยไม่ต้องผ่านชั้นล่างให้คนที่เช่าพักอาศัยรู้สึกอึดอัด

ฟาซาดที่ออกแบบซ่อนฟังก์ชันบานหน้าต่างอย่างแนบเนียน ทำให้การใช้งานผนังมีความยืดหยุ่นมากขึ้น แผงเหล็กเต็มไปด้วยรูกลมขนาดต่างๆ สร้างพื้นที่รับลมระบายอากาศ ขณะเดียวกันก็ช่วยกรองแสงไปด้วยในตัว บ้านจึงหายใจได้ มีแสงสว่างภายในแบบไม่ร้อน

จากบันไดคอนกรีตดิบๆ เดินขึ้นมาเปิดประตูเหล็กโปร่งๆ สีขาว นำไปสู่ทางเข้าชั้นบน จะพบกับห้องโถงสูงโปร่งนำไปสู่พื้นที่ส่วนสาธารณะของบ้าน ซึ่งประกอบด้วยห้องนั่งเล่นแบบเปิดโล่ง ห้องรับประทานอาหารและห้องครัวในแปลนแบบ open plan  และห้องนอนสำหรับแขก

แบบบ้านสามชั้นสีขาว

วัสดุหลักที่ใช้ในบ้านเรียบง่าย หาได้ในท้องถิ่น เน้นความเป็นธรรมชาติที่ดูถ่อมตัว แต่ใช้งานได้ยาวนานทั่วทั้งบ้าน โทนสีประกอบด้วยผนังฉาบทาสีขาว เพดานคอนกรีตเปลือย กระเบื้องเคลือบสำหรับพื้น ประตูไม้ และหน้าต่างอลูมิเนียม เพื่อเพิ่มสีสันให้กับบ้านอีกนิดด้วยเฟอร์นิเจอร์สีโทนสีมัสตาร์ดบนเบาะโซฟา และโคมไฟไผ่สานดูอบอุ่น นอกจากนี้ยังมีต้นไม้แทรกอยู่ในทุกบริเวณของบ้านเติมความสดชื่นมีชีวิตชีวา

องศาของแสงเงาที่ลอดผ่านฟาซาดเจาะรู สร้างเอฟเฟกต์แสงที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาภายในบ้าน โดยเฉพาะตรงผนังคอนกรีตในห้องนั่งเล่น ทำให้บ้านมีลูกเล่นน่าสนุก ส่วนบันไดภายในที่เชื่อมต่อกับโถงสูงกลางบ้าน ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างพื้นที่ทั้งหมดไปสู่ชั้นบนที่มีพื้นที่ส่วนตัว  ประกอบด้วยห้องนอนหลัก ห้องนอนเด็ก และเลานจ์สำหรับครอบครัว

ที่สามารถเชื่อมต่อสายตาและมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในห้องด้านล่างได้แบบไม่ขาดการติดต่อ โถงสูงยังช่วยให้ความร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงและระบายออกนอกบ้านได้ง่าย บ้านนี้จึงสอดรับกับสภาพภูมิอากาศแบบทรอปิคอลที่ร้อนและชื้นได้ดี บ้านไม้สไตล์กระท่อมโมเดิร์น

บ้านแบบสาม

ลักษณะการทำงานของฟาซาดช่องลม ไม่เพียงแต่เพิ่มความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับอาคารเท่านั้น ยังสามารถนำแสงจากธรรมชาติและลมผ่านช่องว่างเข้าไปสู่พื้นที่ใช้งานในอาคารได้  ช่วยลดความอับ ชื้น

ควบคุมการใช้พลังงานภายในอาคาร และเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับบ้าน แต่ก็มีข้อควรระวังคือแมลงและฝนอาจจะลอดผ่านช่องว่างเหล่านี้เข้าสู่ตัวบ้าน อาจจะต้องทำระบบผนังชั้นในอีกชั้นเป็นประตูกระจกบานเลื่อน หรือติดมุ่งลวดเพิ่มเพื่อความสบายสูงสุดในการใช้งาน

สิ่งที่ต้องคำนึงก่อนซื้อบ้าน 3 ชั้น

1. ความต้องการ ฟังก์ชั่น และขนาดพื้นที่ใช้สอย

การกำหนดความต้องการใช้งานในบ้านหรือฟังก์ชั่นของบ้าน มีผลต่อขนาดพื้นที่ใช้สอย จำนวนชั้นและลักษณะของบ้าน เช่น ซื้อบ้าน 3 ชั้น เพื่อเตรียมขยายครอบครัว จึงต้องการจำนวนห้องที่มากขึ้น เพื่อรองรับจำนวนสมาชิก หรือเพื่อทำธุรกิจควบคู่ด้วย เช่น เปิดเป็นโฮมออฟฟิศ หรือปล่อยเช่าบางส่วน

ก่อนซื้อบ้านจึงควรเช็กลิสต์ความต้องการว่า บ้าน 3 ชั้น เหมาะและตอบโจทย์หรือไม่ เพื่อปรึกษาสถาปนิกให้ออกแบบตรงตามความต้องการกรณีสร้างบ้าน 3 ชั้น หรือเลือกแบบบ้านที่ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด ในกรณีที่ซื้อบ้าน 3 ชั้น โครงการหมู่บ้านจัดสรร

2. ขนาดที่ดิน

ขนาดที่ดิน เป็นอีกหนึ่งข้อคำนึงก่อนตัดสินใจเลือกแบบบ้านชั้นเดียว บ้าน 2 ชั้น หรือบ้าน 3 ชั้น เนื่องจากการสร้างบ้านมีกฎหมายควบคุม ซึ่งต้องคำนึงถึงระยะร่นแนวอาคาร ดังนั้น ต้องรู้ขนาดที่ดินเพื่อหักลบระยะร่นออกไป จากนั้นจึงพิจารณาความเหมาะสมในการสร้างบ้านให้เหมาะสมกับขนาดที่ดิน เช่น หากมีที่ดินขนาดใหญ่ จะสามารถสร้างบ้านชั้นเดียวหรือบ้าน 2 ชั้นได้ตามฟังก์ชั่นการใช้งาน

แต่หากมีที่ดินขนาดเล็ก ซึ่งเมื่อหักลบระยะร่นออกแล้ว การสร้างบ้าน 2 ชั้นหรือบ้าน 3 ชั้น อาจเหมาะสมกว่า เพราะสามารถเพิ่มขนาดพื้นที่ใช้สอยในทางสูงได้นั่นเอง

บ้านแบบสาม

3. ทำเลที่ตั้ง

ด้านทำเลที่ตั้ง ควรดูบริบทโดยรวมว่าที่ดินอยู่ในทำเลไหน เช่น ทำเลเมือง พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ต้องรู่ก่อนซื้อบ้าน สภาพแวดล้อมโดยรอบ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบบ้าน ลักษณะของบ้านที่จะสร้างหรือซื้อจึงต้องพิจารณาด้านทำเลที่ตั้งร่วมด้วยตามความเหมาะสม และนำมาเปรียบเทียบกัน เช่น ซื้อบ้าน 3 ชั้น ทำเลเมือง ราคาที่ดินแพง ราคาบ้านก็สูงตามไปด้วย หรือจะเป็นบ้าน 3 ชั้น ในโครงการหมู่บ้านจัดสรร ขยับออกทำเลชานเมือง เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง หรือบ้านใต้ถุนสูง ในเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้ำท่วม เป็นต้น

3. งบประมาณ

ไม่ว่าจะซื้อบ้านหรือสร้างบ้าน ต้องมีงบประมาณที่พร้อม ควรรู้ความสามารถการกู้ของตนเอง คำนวณวงเงินกู้สูงสุด เพื่อตรวจสอบยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับการพิจารณาจากธนาคารและยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน รวมทั้งควรเก็บออมเงินดาวน์

แม้ว่าปัจจุบันจะมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV ทำให้ผู้ซื้อกู้ได้เต็ม 100% โดยไม่ต้องวางเงินดาวน์ แต่โดยปกติแล้วธนาคารจะปล่อยสินเชื่อกู้บ้านได้สูงสุด 90% ของราคาบ้าน

เช่นเดียวกันในกรณีสร้างบ้าน 3 ชั้น ก็มีเรื่องของวัสดุก่อสร้าง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ควรศึกษาข้อมูล หรือปรึกษาสถาปนิกก่อนตัดสินใจเช่นเดียวกัน

4. ค่าส่วนกลาง

ค่าส่วนกลางคิดตามขนาดที่ดิน/พื้นที่ใช้สอย ยิ่งมีขนาดที่ดินหรือพื้นที่ใช้สอยมาก ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีผู้อยู่อาศัยมากขึ้น ส่วนใหญ่จึงกำหนดให้การคำนวณค่าส่วนกลางคิดตามตารางวาสำหรับโครงการหมู่บ้านจัดสรรหรือคิดเป็นตารางเมตรสำหรับโครงการคอนโด